น่าแปลก ที่ปรึกษาของ กทช. คือ NERA เคยออกบทความวิจารณ์ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ว่าการประมูลคลื่นของแคนาดาในปี 2551 ที่ผ่านมา ใช้ระบบ SMR นี่แหล่ะครับต้องประมูลถึง 331 รอบ ผลปรากฏว่า ประมูลไปได้ราคาสูงมาก สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 4 เท่าตัว และแพงกว่าค่าคลื่นในสหรัฐ ทั้งๆ ที่แคนนาดาเองมีความร่ำรวยน้อยกว่าสหรัฐ เป็นอย่างมาก ฉะนั้น NERA จึงบอกว่า การประมูลแบบหลายรอบพร้อมๆ กัน SMR เปิดช่องให้กับผู้มีทุนหนา เข้ามาปั่นราคา ปั่นราคา ดังนั้นถ้า กทช. ไทย นำวิธีการเช่นนี้มาใช้ ในเมืองไทย ผลที่เป็นไปได้ก็คือ ผู้ที่มีเงินหนาอย่างเช่น เงื่อนไขการประมูลกำหนดว่า ผู้ที่ประมูลคลื่นทั้ง 4 คลื่นได้ พร้อมกัน เลือกเอาคลื่นใดคลื่นหนึ่ง คือคนที่วางเงินค้ำประกันถึง 115% ของค่าประมูลขั้นต่ำ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีเงินหนา สามารถเลือกที่จะเข้าไปปั่นราคา ของคลื่นที่ตัวเองไม่อยากได้ พอปั่นสูงแล้วหันกลับไปประมูลคลื่นที่ตัวเองอยากได้ หรือคลื่นที่ใหญ่ที่สุด ผลก็คือ ผู้ที่ได้คลื่นรายเล็กกว่าเช่น 10 เม็ก อาจจะมีราคาต่อหน่วยของเม็กแพงกว่าคนที่ประมูลคลื่น 15 เม็ก คือรายใหญ่นั่นเอง